วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
- สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
- มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
- มีเวลาเพียงพอ
- มีงบประมาณเพียงพอ
- มีความปลอดภัย
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม
3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข
4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต
5. การเขียนรายงาน เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ
6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โครงงาน

ชื่อโครงงาน

ประเทศไทยทาสีเขียว ( Paint On Thailand )

ชื่อผู้ทำโครงงานนายภาณุพงษ์ ลิ้มพิสูจน์ นายพัฒนา ลีลารัศมี นายนิพนธ์ เลิศหิรัญวงศ์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษารศ.ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า 
สถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
โครงงานได้รับรางวัลได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 ประจำปีงบประมาณ 2551 
ระดับชั้นอื่นๆ 
หมวดวิชาคอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงานไม่ระบุ
บทคัดย่อ
ในโลกเทคโนโลยีอย่างในปัจจุบันนี้ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ถูกละเลยและเพิกเฉยจนทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ขาดสังคมที่ผู้คนจะเข้ามาร่วมกันพบปะพูดคุยแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนข่าวสาร แม้แต่เรื่องใกล้ตัวอย่าง ปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณที่อาศัยอยู่ก็ยังขาดแคลนแหล่งข้อมูล
ผู้พัฒนาจึงคิดว่าการพัฒนาระบบใหม่ที่สร้างสังคมออนไลน์ใหม่เพื่อเป็นศูนย์รวมของผู้คนที่ยังรักประเทศไทยอยู่ให้ตระหนักถึงปัญหาและช่วยกันกระตุ้นการปลูกต้นไม้ จะช่วยทำให้ประเทศไทยกลับมาเป็นประเทศสีเขียวอีกครั้งได้ ดังนั้น Paint On Thailand จึงเป็นสังคมเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้รายอื่นตามหลักการของเว็บ 2.0 ที่ผู้ใช้เป็นทั้งผู้รับข้อมูล และให้ข้อมูลแก่ผู้อื่น เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสช่วยเหลือประเทศไทยของเราเอง
สรุปโครงงาน
   เป็นโครงงานที่ใช้สังคมออนไลน์เพื่อรวมผู้คนที่ตระหนักถึงปัญหาและช่วยกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยช่วยกันปลูกต้นไม้ไห้ประเทศกลับมาเขียวเหมือนเดิม0