วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

         
 นักเขียนโปรแกรม ( Programmer) 

         นักเขียนโปรแกรม ( Programmer) เมื่อนักวิเคราะห์ระบบทำการวิเคราะห์ระบบงานเสร็จสิ้น ก็จะส่งต่อมายังผู้ที่ชำนาญในเรื่องของการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะเพื่อสร้างระบบงานนั้นให้ออกมาใช้งานได้จริง ๆ เราเรียกบุคคลกลุ่มนี้ว่า นักเขียนโปรแกรม หรือ programmer นั่นเองโปรแกรมที่มีขนาดเล็กมาก (เหมือนกับการสร้างบ้านหลังเล็ก ๆ) อาจใช้นักเขียนโปรแกรมเพียงไม่กี่คน และสร้างเสร็จภายในเวลาไม่กี่วัน แต่หากโปรแกรมมีขนาดที่ใหญ่มาก (เปรียบเทียบได้กับการสร้างบ้าน ตึก หรืออาคารขนาดใหญ่) นักเขียนโปรแกรมเพียงคนเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการเขียนชิ้นงานนั้น หน่วยงานบางแห่งจึงต้องมีทีมงานจำนวนมากเพื่อรองรับกับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว วิธีการเขียนอาจแบ่งกลุ่มโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่าโมดูล ( module) แล้วกระจายงานออกไปให้กับแต่ละคน จากนั้นจึงจะนำเอาโมดูลที่ได้กลับมารวมกันเป็นโปรแกรมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งช่วยลดเวลาในการเขียนโปรแกรมลงไปได้มาก





นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA)

      นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA) ผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์การในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสารข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าจะจัการหรือปรับปรุงอย่างไร เพื่อสามารถพัฒนาระบบธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้

คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
1. มีความรู้ทางด้านธุรกิจ
2. มีความเป็นผู้นำ
3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความสามรถในการแก้ไขปัญหา
5. มีความสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน
6. ควรมีความรู้ในการเขียนโปรแกรม
7. ต้องติดตามเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ
8. ประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ระบบ

วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle)
1. กำหนดปัญหา(Problem definition)
2. วิเคราะห์(Analysis)
3. การออกแบบ(Design)
4. พัฒนา(Development)
5. ทดสอบ(Testing)
6. ติดตั้ง(Implementation)
7. บำรุงรักษา(Maintenance)