วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กิืจกรรม-โครงงานคอมพิวเตอร์

1.โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร
            หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

2.โครงงานคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทโครงงาน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ

3.ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์  ยกตัวอย่าง  2  โครงงาน 
1. นาโนอิเล็กทรอนิกส์ " ไมโครชิพ 
     ปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่เล็กมากในชื่อ “นาโน” ซึ่งจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆให้มีขนาดเล็กซึ่งจะเป็นการปฏิวัติวงการเทคโนโลยี ในบทบาทของนาโนเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้าไปปรับเปลี่ยนทิศทาง และพัฒนาศาสตร์ของอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกำลังจะเดินทางมาถึงจุดอับ ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ตามที่ กอร์ดอน มัวร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทอินเล็กทรอนิกส์ล่าวไว้ว่า "จำนวนของทรานซิสเตอร์ซึ่งบรรจุอยู่บนแผ่นวงจรรวม หรือ ไมโครชิพ นี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน" คำกล่าวอันสร้างชื่อแก่เขาในฐานะกฎของมัวร์ (Moore's Law) ซึ่งได้รับการยอมรับ และเป็นแรงกดดันให้วงการผลิตชิพสามารถพัฒนาชิพ ให้มีความเร็วสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ซื้อมาใหม่มีอันต้องล้าสมัยไปทุกๆ ปีครึ่งเช่นเดียวกัน แต่กฎของมัวร์นี้กำลังจะถูกสั่นคลอน การเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ลงไปบนชิพด้วยการย่อขนาดของวงจรกำลังจะมาถึงขีดจำกัด
2. ซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติ CU Textile Design
      ปัจจุบัน มีซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถใช้งานในการออกแบบลายผ้าได้ เช่น Photoshop หรือการจำลองสามมิติโดยโปรแกรมมายา (Maya) หรือ ทรีดีสตูดิโอแม๊กซ์ (3D Studio Max) รวมทั้ง อราห์วีฟ แคด แคม (Aearah Weave CAD CAM) ซึ่งเป็นโปรแกรมจำลองลายผ้าโดยเฉพาะ แต่โปรแกรมดังกล่าวอาจทำให้ผู้ผลิตต้องใช้ต้นทุนทางด้านเวลาสูงยิ่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาและอบรบโปรแกรมหลายโปรแกรมประกอบกัน รวมทั้งต้องอาศัยความชำนาญมากกว่า เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ ที่อำนวยความสะดวก ในการออกแบบลายผ้าโดยเฉพาะ อีกทั้งมีปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ (license) ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า โปรแกรมออกแบบลายผ้าสามมิติ สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมวงการอุตสาหกรรมแฟชันของประเทศไทยซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของเมืองไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกด้วย
อ้างอิง

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

 1> assembly language : ภาษาแอสเซมบลี
    เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาระดับต่ำคล้ายๆกับภาษา Basic
       และภาษา Cobol

  2> automatic teller machine : เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ
    เป็นเครื่องทีไม่มีคนประจำอยู่ ซึ่งสามารถควบคุมการถอนเงิน การดูยอดบัญชีและทำ
       งานอื่นๆ เกี่ยวกับการจ่ายเงินโดยอัตโนมัติ

  3> auxiliary storage : หน่วยเก็บช่วย หน่วยเก็บรอง
    เป็นหน่วยความจำที่ช่วยในการรองรับหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์หรือที่เรียก
       ว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage)

  4> background processing : การประมวลผลส่วนหลัง
    เป็นการ execute โดยอัตโนมัติของโปรแกรมส่วนหลังระหว่างโปรแกรมคอมฯ กับระบบ
       ปฏิบัติการ เมื่อระบบไม่สามารถทำตามคำสั่งการประมวลผลส่วนหน้าได้

  5> backup : การสำรอง
    การสำรองเอาไว้ใช้สำรองโปรแกรมหรือสำรองไว้เพื่อกันโปรแกรมเสียหาย

  6> BASIC : ภาษาเบสิก
    เป็นภาษาระดับสูงใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้และ
       การทำงานเป็นแบบแบ่งเวลา (Time Sharing)

  7> batch processing : การประมวลผลแบบกลุ่ม
    การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล
       เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ
       รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม

  8> binary number system : ระบบเลขฐานสอง
    ในระบบเลขฐานสองจะมีอยู่ 2 digits คือ เลข 0 กับเลข 1 ซึ่งคอมพิวเตอร์จะให้แปลงคำสั่งเป็น
       เลข 0 และ 1 ในการประมวลผล และใช้เลข 0,1 เป็นเงื่อนไขหรือการกระทำ

  9> booting the system : การเริ่มทำงานของระบบ
    การเริ่มต้นทำงานของคอมพิวเตอร์ จะเริ่มจากการ Boot เครื่องและจะมีระบบปฏิบัติการหรือ DOS 
       เข้ามาในหน่วยความจำหลัก

10> buffer : ที่พักข้อมูล ที่ปรับอัตรา หรือกันชน
    ใช้พักข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ input/out กับ CPU เป็นพื้นที่สำหรับหน่วยความจำขนาดเล็ก ติดต่อ
       buffer สองตัว

11> bug : จุดบกพร่อง
    การ error ในระบบหรือโปรแกรม การ error ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือในรายละเอียดบางชิ้น
       ของฮาร์ดแวร์

12> bus : บัส
    การสื่อสารระหว่าง provide หรือ มากกว่า 1 devices เช่น ระหว่าง CPU, หน่วยความจำ และ
       อุปกรณ์รอบนอก โดยคอมพิวเตอร์จะต่อเข้ากับเครื่อง server
    
13> byte : ไบต์
    เป็นกลุ่มของบิต จะมีอยู่ 8 operater ในหน่วยหนึ่ง โดยจะมีตัวแปรเป็นอักขระหรือสัญลัษณ์พิเศษ
       โดยปกติ 1 ไบต์จะมี 8 บิต

14> cache memory : หน่วยความจำแบบแคช
    เป็นหน่วยความจำที่มีการทำงานสูง ความเร็วสูง เป็นการทำงานของหน่วยความจำเพื่อประมวลผล
       ข้อมูลหรือโครงสร้าง

15> CAD/CAM : การออกแบบและผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
    โดยปกติทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและกระบวนการผลิตของธุรกิจต่างๆ

16> CAI : การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
    คือการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้เองโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ

17> constant : ค่าคงที่
    เป็นตัวเลขที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในโปรแกรม

18> control program : โปรแกรมควบคุม
    ปกติจะเป็นระบบปฏิบัติการ โปรแกรมควบคุมสามารถช่วยควบคุมการปฏิบัติการและการจัดการใน
       ระบบคอมพิวเตอร์
    
19> control unit : หน่วยควบคุม
    เรียกกันว่า CPU และสามารถพบได้ในการ execution ของโครงสร้างโปรแกรม และเป็นการประมวล
       ผลส่วนกลางซึ่งจะทำงานควบคุมโดยตรงของระบบคอมพิวเตอร์

20> coursor : ตัวชี้ตำแหน่ง
    สัญลักษณ์ที่แสดงผลบนจอภาพ คือ ขีดเส้นใต้กระพริบเพื่อแสดงหรือชี้ว่า ตัวถัดไปอยู่ตำแหน่งไหน 
       อาจจะเป็นสัญลักษณ์ขีดเส้นใต้ หรือกล่องซึ่งบอกว่าคุณกำลังอยู่ตำแหน่งไหนบนจอภาพ

21> cylinder : ทรงกระบอก
    แทร็คบนจานแม่เหล็กซึ่งเกิดจากจานแม่เหล็กแต่ละแผ่นเรียงกันเป็นทรงกระบอก และแทร็คที่เรียง
       ตรงกันเรียกว่า cylinder
    
22> data : ข้อมูล
    ข้อมูลที่เตรียมไว้เพื่อจะนำไปเข้าสู่การประมวลผล

23> data base : ฐานข้อมูล
    ที่รวมของไฟล์ที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้หลักการบางอย่างทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกันและสามารถ
       เรียกใช้งานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

24> data base administrator : การบริหารฐานข้อมูล
    เป็นงานที่ใช้สำหรับค้นหา ปรับปรุง แก้ไขการเข้าถึงฐานข้อมูล เป็นการเอาไว้ใช้ฐานข้อมูลโดยใช้
       ระบบฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่วไป การบำรุงรักษา

25> data base management system : ระบบการจัดการฐานข้อมูล
    เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการฐานข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล การค้นหาข้อมูล ระบบนี้สามารถประมวล
       ผลได้หลายโปรแกรมพร้อมกัน

26> cathaode ray tube : หลอดภาพ
    เป็นหลอดอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งข่าวสารไปแสดงผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลลัพธ์ด้าน
       ข้อมูลบนหลอดทีวีและหน้าจอ

27> central processing unit : หน่วยประมวลผลกลาง
    เป็นส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ในการควบคุมการแปลและการรันโปรแกรมและ
       คำสั่งต่างๆ ใน CPU ประกอบด้วยหน่วยความจำหลัก หน่วยคำนวณและตรรกะ และหน่วยควบคุม

28> channel : ช่องสัญญาณหรือร่องข้อมูล
    เป็นเส้นทางสำหรับการส่งสัญญาณระหว่างคำสั่งและตำแหน่งของข้อมูล แบ่งเป็นแทร็คในเทป
       แม่เหล็กหรือเรียกว่า แบนด์ในดรัมแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไปสู่ CPU 
       และจาก CPU ไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ

29> chip : ชิป
    สร้างมาจากซิลิโคนประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และประกอบเป็น integrated

30> compiler : ตัวแปลชุดคำสั่งหรือชุดคำสั่งแปลชุดคำสั่ง
    คำสั่งในคอมพิวเตอร์เป็นแบบภาษาเครื่อง ซึ่งโดยปกติผู้เขียนโปรแกรมจะเขียนด้วยภาษาระดับ
       สูงที่คอมพิวเตอร์ไม่รู้จัก ตัวแปลภาษาจะทำการแทนคำสั่งภาษาระดับสูงนั้นด้วยภาษาเครื่องไม่ว่าจะเป็น
       ชุดคำสั่งและคำสั่งย่อย นอกจากนี้ยังแปลงระดับการทำงานหรือปัญหาของภาษาเป็นภาษาเครื่องด้วย

31> computer : คอมพิวเตอร์หรือคณิตกร
           เป็นเครื่องคำนวณระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยออกแบบเพื่อจัดระบบที่เป็นอัตโนมัติในการรันและ
       การทำงานมีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ โดยละเอียดเป็นลำดับขั้นตอนแปลที
       ละคำสั่งที่ได้รับไป

32> computer network : ข่ายงาน หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    เป็นการเชื่อมต่อการประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือมากกว่า

33> computer operator : การดำเนินการคอมพิวเตอร์หรือการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
    เป็นการทำงานที่รวมถึงการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ เป็นการเริ่มดำเนินโปรแกรม ตรวจสอบ
       การทำงานของไมโครโปรเซสเซอร์และจบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ

34> console : ส่วนเฝ้าคุมหรือจอเฝ้าคุม
    เป็นช่องทางของคอมพิวเตอร์ที่ใช้มนุษย์ควบคุมการติดต่อสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์

35>data communications : การสื่อสารข้อมูล
    เป็นวิธีการถ่ายข้อมูลระหว่างการประมวลผลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยทำการโอนถ่าย
      ข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

36> data entry operator : พนักงานป้อนข้อมูล
    เป็นผู้ที่ถอดข้อมูลจากเทปเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหน้าที่
       เฉพาะบางคนที่สามารถเข้าใจข้อมูลและแทนค่านั้นด้วยภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้

37> data processing : การประมวลผลข้อมูล
    เป็นความต้องการที่จะปฏิบัติงานประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์

38> debug : แก้จุดบกพร่อง
    เป็นการตรวจสอบที่จุดบกพร่องและแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมและหรือคำสั่งย่อยใน
       ชุดคำสั่ง

39> decision support system : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    เป็นการรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจไว้เป็นสำเนาเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจ

40> deagnosties : การวินิจฉัย
    เป็นการแสดงข้อความผิดพลาดด้วยคอมพิวเตอรืที่เกิดจากปัญหาจากระบบและคำสั่งของ
       โปรแกรม

41> difference engine : เครื่องคำนวณทางตรรกะ
    เป็นอุปกรณ์ประมวลผลทางตรรกศาสตร์ที่จะไม่มีวันจบ สร้างโดย Charles Babbuge

42> digital computer : คอมพิวเตอร์เชิงตัวเลข,คณิตกรเชิงตัวเลข
    เป็นอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลและจัดการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล ใช้ควบคู่กับเรื่อง
       คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก

43> direct-access : การเข้าถึงโดยตรง
    เป็นการเข้าถึงข้อมูลในเวลาที่ต้องการโดยดึงข้อมูลมาเฉพาะที่ตั้งที่ข้อมูลอยู่ เป็นการอ่านและ
       เขียนข้อมูลโดยตรงเช่นเดียวกับการค้นหาข้อมูลโดยตรง

44> diskette : แผ่นบันทึก
    เป็นฟลอปปี้ดิสก์ เป็นเทปแม่เหล็กราคาถูก สำหรับอุปกรณ์ I/O และเป็นหน่วยความจำสำรอง

45> distributed data processing : การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย
    เป็นการบรรยายทั่วไปเกี่ยวกับการประมวลผลแบบตรรกะ เกี่ยวข้องกับข่าวสารคำสั่งตลอด
       จนการทำงานแบบรวมทั้งทางกายภาพ ประมวลผลและอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ

46> documnutation : การจัดทำเอกสาร
    เป็นเอกสารระหว่างการวิเคราะห์และคำสั่งย่อยของโปรแกรมและข้อมูลของโปรแกรมและระบบ 
       เก็บตัวแปรและมีไว้เพื่อปรับปรุงโปรแกรามในวันต่อไป

47> editor : บรรณาธิกรณ์หรือบรรณาธิการ
    เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ทบทวนและใส่ตัวอักษาและคำสั่งอื่นของโปรแกรม

48> electronic mail : การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์
    เป็นการส่งข้อความทั่วไปโดยระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการส่ง
       ข้อมูล, ข้อความ, และสารสนเทศ เป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปอีกคอมพิวเตอร์หนึ่งเหมือน
       กับการทำงานของไปรษณีย์

49> electronic apreadsheet program : โปรแกรมกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์
    เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว, คำนวณและวิเคราะห์ข้อมูล มีการทำงานแบบแถวและ
       คอลัมน์

50> EPROM : หน่วยความจำโปรแกรมลบได้
    ลบและอ่านหน่วยความจำได้เพียงอย่างเดียว โดยสามารถเขียนโปรแกรมได้ในเงื่อนไขอย่างจำกัด
       เพียงครั้งเดียว

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557




แชท (Chat) คือการพูดคุยออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจใช้โปรแกรมแตกต่างกันไปค่ะ เช่น MSN, Google talk, Yahoo Messenger, Skype
        Chat Room (ห้องสนทนา) คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความถึงกัน โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วแม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ในทันที ไม่จำกัดอายุและเพศ ซึ่งการเข้าไปสนทนาเราจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com, www.pantip.com เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนได้ ไม่ว่าจะเพื่อความรู้ หรือบันเทิง


www.sanook.com 
www.pantip.com
www.facebook.com
 e-mail เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบโทรคมนาคม ข่าวสารหรือข้อความของ e- mail จะเป็นไฟล์ประเภทข้อความ อย่างไรก็ตามสามารถส่งไฟล์ประเภทอื่น เช่น ไฟล์ประเภทภาพหรือเสียง เป็นไฟล์ที่แนบไปในรหัสแบบ binary โดย e- mail เป็นสิ่งแรกที่ใช้อย่างกว้างขวางในอินเตอร์เน็ต และเป็นสัดส่วนใหญ่ในการใช้ traffic บนอินเตอร์เน็ต e- mail สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้ของ online service provider กับระบบเครือข่ายอื่น นอกจากนี้ ภายในอินเตอร์เน็ต e- mail เป็นโปรโตคอลแบบหนึ่งที่รวมอยู่ใน Transport Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) โปรโตคอลที่นิยมสำหรับการส่ง e- mail คือ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และโปรโตคอล ที่นิยมในการรับ e- mail คือ POP3 ทั้ง Netscape และ Microsoft ได้รวม e- mail และส่วนประกอบการทำงานใน web browser












ที่มา  


3. Social Network

  Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก............... การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติ    พลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ............... Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบันนั่นเองครับ โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรจากปากคำของเราเองได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป ครูอาจารย์สามารถให้แง่คิดหรือสิ่งละอันพันละน้อยแก่ลูกศิษย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พูดกันทีเดียวคราวละยาวๆ นักวิจัยอาจพบอะไรที่น่าสนใจแล้วสื่อสารให้รู้กันทุกคนในเครือข่ายเดียวกันได้ทันทีเพื่อให้ทีมรับรู้สิ่งน่าสนใจไปพร้อมๆกัน  






ตัวอย่าง
ที่มา