วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


Leap Motion



                 



             ลีป โมชั่น ตัวนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัดและน้ำหนักเบา ดูไปดูมาหน้าตาภายนอกของมันค่อนข้างคล้ายก้อนยางลบอยู่เหมือนกัน ด้านบนของอุปกรณ์เป็นกระจกดำ ภายใต้กระจกมีหลอดไฟ LED ของอินฟราเรดและเซ็นเซอร์รับแสงอยู่ ส่วนวัสดุโดยรอบทำด้วยอะลูมิเนียม พร้อมช่องเสียบ USB 3.0 หน้าที่หลักของลีป โมชั่น ก็คือการตรวจจับความเคลื่อนไหว
            ทั้งนี้ ตัวอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์และการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ซึ่งลีป โมชั่นมีหน้าที่เสมือนเป็นตัวถ่ายทอดคำสั่งของผู้ใช้งานไปยังคอมพิวเตอร์ แทนที่คุณจะใช้เม้าส์ คราวนี้กลับใช้มือเปล่าชี้นิ้วออกคำสั่งได้ทันทีโดยปราศจากการสัมผัสใด ๆ กับตัวอุปกรณ์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะคลิก ย่อ ขยาย หมุน วาดภาพ เลื่อนหน้าจอ ฯลฯ ก็สามารถทำได้แบบไม่มีติดขัด ด้วยประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมของระบบเซ็นเซอร์ที่อยู่ภายในลีป โมชั่น ซึ่งคอยส่งค่าแสดงตำแหน่ง ทิศทางของข้อมือและนิ้วมือ รวมไปถึงท่าทางของผู้ใช้งาน โดยลีป โมชั่น จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ลง Windows 7-8 และ Mac OS X 10.6 (หรือเวอร์ชั่นใหม่กว่านี้)















ที่มา 

http://men.kapook.com/view65427.html



วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)









คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง





หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ




ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้


อ้างอิง
http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_02.htm
http://www.jinan.co.th/computer.html

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภท DSS

ประเภทของ DSS 
ระบบ DSS จัดแบ่งตามจำนวนของผู้ใช้ได้เป็น 2 ประเภท คือ ระบบมีที่สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล ซึ่งเรียกว่า Executive Information Systems (EIS) และระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม (Group Decision Systems) นอกจากนี้ยังมี DSS ประเภทอื่นๆ อีก เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems-GIS) และระบบ Expert Systems


ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS กับ DSS

             EIS ช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเหตุการณ์วิกฤตที่มีผลกระทบต่อองค์การในระดับกว้าง เราจะเห็นได้ว่า EIS มีหลักการคล้ายกับ DSS ที่กล่าวถึงในบทที่ผ่านมา ดังนั้นการจำแนก EIS กับ DSS ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสองระบบ ดังต่อไปนี้
  1. EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ขณะที่ DSS ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการระดับกลาง หรือนักวิชาชีพ เช่น วิศวกร นักการตลาด และนักการเงิน เป็นต้น ให้มีประสิทธิภาพขึ้น
  2. EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยมีตาราง รูปภาพ แบบจำลอง และระบบสื่อผสมที่อธิบายข้อมูลอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ขณะที่ DSS จะให้ข้อมูลการตัดสินใจตามลักษณะของงาน โดยผู้ใช้อาจต้องปรับแต่งข้อมูลที่ตนสนใจให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งาน
  3. EIS ได้รับการออกแบบและพัฒนาให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้งานโดยตรง ขณะที่ผู้ใช้ DSS อาจต้องนำสารสนเทศมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการตัดสินใจ หรือใช้เทคนิคในการประมวลผลข้อมูลบ้าง ดังนั้นผู้ใช้ DSS สมควรต้องมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในระดับที่สามารถใช้งานให้จัดการข้อมูลที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ


                EIS และ DSS ต่างถูกพัฒนาขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้งสองระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยที่เราสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องสมบูรณ์ แต่สร้างความเข้าใจและให้ภาพรวมของระบบหรือปัญหาที่ผู้บริหารสนใจ โดย EIS อาจได้รับการออกแบบและพัฒนาจากฐานของ DSS เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน DSS ถ้าผู้บริหารเกิดความต้องการข้อมูลมากกว่าที่ EIS ถูกพัฒนาขึ้น



























โปรแกรม dss


ลักษณะการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS) ในประเทศไทย
ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติส่งผ่านระบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์หลัก (Web Server) ที่กรุงเทพฯในชื่อว่า weather.nakhonthai.net มีการแสดงผลลัพธ์เป็นทั้งตัวเลข ณ เวลาล่าสุด และเป็นรูปแบบกราฟเส้นในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมงโดยที่การตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติจะทำการรายงานทุกๆ 5 นาที มีการดึงข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Downloader จากเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ดึงข้อมูลผลการตรวจอากาศผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://weather.nakhonthai.net/data ดึงข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://metocph.nmci.navy.mil/sat/gms_nwtrop/ir/ และดึงข้อมูลเวอร์ทิซิตี้ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://www.marine.tmd.go.th/html/rjtd-vorticity/ ข้อมูลต่างๆ ก็จะมาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในโฟลเดอร์ที่กำหนด หลังจากนั้นในทุกๆ เช้าก็จะมีการใช้โปรแกรม GenDSS ในการจัดเตรียมฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแสดงผลโดยจะทำการเตรียมฐานข้อมูลแบบ Last day สำหรับข้อมูลในอดีตในส่วนข้อมูลปัจจุบันจะใช้ป้าย Today เพื่อป้อนให้กับโปรแกรม DSS ในการประมวลผลต่อไป


ความคิดเห็น
เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์มากในการป้องกันภัย


วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ DSS



ความหมาย

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนกา ร ตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ เชิงกลยุทธ์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหาร ในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะ ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ






ลักษณะของ DSS


1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ


2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำมาใช้งานในหลายลักษณะและเกือบทุกธุรกิจ โด ย ที่พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกวงการทั้งภาคเอกชนและ ราชการ ระบบสารสนเทศช่วยสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรได้ดังนี้

1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อ

เหตุการณ์เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทันต่อความต้องการ

2. ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหาร

สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนิน งานเนื่องจากสารสนเทศถูกรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อ เนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนินงานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด

3. ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะ ต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลเพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร

4. ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตูของปัญหา ผู้บริหารสามรถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการ ศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไป ตามแผนที่วางไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าความผิดพลาดใน การปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่

5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไข ปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทาง เลือกจะช่วยแก้ไขหรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือ พัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย

6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายใน การทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ตลอดจน ช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้ น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพใน การแข่งขันของธุรกิจ












ส่วนประกอบและโครงสร้างของ DSS

ระบบ DSS มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การจัดการด้านข้อมูล (Data management) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (user interface) และการจัดการโมเดล (model management) (Turban et al.,2001)

1) การจัดการข้อมูล (Data management) ประกอบด้วย ฐานข้อมูลและวิธีการดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจมาใช้ โดยข้อมูลเหล่านี้อาจจะมาจากดาตาแวร์เฮาส์ของบริษัท หรือฐานข้อมูลปกติทั่วไป หรือจากแหล่งภายนอกก็ได้

2) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (User interface) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและสั่งงานระบบ DSS ได้รูปแบบที่ง่ายที่สุดอาจจะใช้โปรแกรมสเปรดชีท (spreadsheet) หรืออาจจะใช้รูปภาพกราฟฟิคก็ได้

3) การจัดการโมเดล (Model management) ซึ่งประกอบด้วยซอฟต์แวร์ด้านการเงิน สถิติ หรือโมเดลเชิงปริมาณอื่นๆ ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์

4) การจัดการกับความรู้ (Knowledge management) เป็นระบบที่ช่วยป้อนความรู้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะ ระบบนี้จะมีเฉพาะ DSS บางประเภทเท่านั้น


















วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
- สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
- มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
- มีเวลาเพียงพอ
- มีงบประมาณเพียงพอ
- มีความปลอดภัย
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม
3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข
4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต
5. การเขียนรายงาน เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ
6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โครงงาน

ชื่อโครงงาน

ประเทศไทยทาสีเขียว ( Paint On Thailand )

ชื่อผู้ทำโครงงานนายภาณุพงษ์ ลิ้มพิสูจน์ นายพัฒนา ลีลารัศมี นายนิพนธ์ เลิศหิรัญวงศ์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษารศ.ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า 
สถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
โครงงานได้รับรางวัลได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 ประจำปีงบประมาณ 2551 
ระดับชั้นอื่นๆ 
หมวดวิชาคอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงานไม่ระบุ
บทคัดย่อ
ในโลกเทคโนโลยีอย่างในปัจจุบันนี้ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ถูกละเลยและเพิกเฉยจนทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ขาดสังคมที่ผู้คนจะเข้ามาร่วมกันพบปะพูดคุยแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนข่าวสาร แม้แต่เรื่องใกล้ตัวอย่าง ปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณที่อาศัยอยู่ก็ยังขาดแคลนแหล่งข้อมูล
ผู้พัฒนาจึงคิดว่าการพัฒนาระบบใหม่ที่สร้างสังคมออนไลน์ใหม่เพื่อเป็นศูนย์รวมของผู้คนที่ยังรักประเทศไทยอยู่ให้ตระหนักถึงปัญหาและช่วยกันกระตุ้นการปลูกต้นไม้ จะช่วยทำให้ประเทศไทยกลับมาเป็นประเทศสีเขียวอีกครั้งได้ ดังนั้น Paint On Thailand จึงเป็นสังคมเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้รายอื่นตามหลักการของเว็บ 2.0 ที่ผู้ใช้เป็นทั้งผู้รับข้อมูล และให้ข้อมูลแก่ผู้อื่น เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสช่วยเหลือประเทศไทยของเราเอง
สรุปโครงงาน
   เป็นโครงงานที่ใช้สังคมออนไลน์เพื่อรวมผู้คนที่ตระหนักถึงปัญหาและช่วยกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยช่วยกันปลูกต้นไม้ไห้ประเทศกลับมาเขียวเหมือนเดิม0

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กิืจกรรม-โครงงานคอมพิวเตอร์

1.โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร
            หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

2.โครงงานคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทโครงงาน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ
2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ

3.ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์  ยกตัวอย่าง  2  โครงงาน 
1. นาโนอิเล็กทรอนิกส์ " ไมโครชิพ 
     ปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่เล็กมากในชื่อ “นาโน” ซึ่งจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆให้มีขนาดเล็กซึ่งจะเป็นการปฏิวัติวงการเทคโนโลยี ในบทบาทของนาโนเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้าไปปรับเปลี่ยนทิศทาง และพัฒนาศาสตร์ของอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกำลังจะเดินทางมาถึงจุดอับ ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ตามที่ กอร์ดอน มัวร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทอินเล็กทรอนิกส์ล่าวไว้ว่า "จำนวนของทรานซิสเตอร์ซึ่งบรรจุอยู่บนแผ่นวงจรรวม หรือ ไมโครชิพ นี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน" คำกล่าวอันสร้างชื่อแก่เขาในฐานะกฎของมัวร์ (Moore's Law) ซึ่งได้รับการยอมรับ และเป็นแรงกดดันให้วงการผลิตชิพสามารถพัฒนาชิพ ให้มีความเร็วสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ซื้อมาใหม่มีอันต้องล้าสมัยไปทุกๆ ปีครึ่งเช่นเดียวกัน แต่กฎของมัวร์นี้กำลังจะถูกสั่นคลอน การเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ลงไปบนชิพด้วยการย่อขนาดของวงจรกำลังจะมาถึงขีดจำกัด
2. ซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติ CU Textile Design
      ปัจจุบัน มีซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถใช้งานในการออกแบบลายผ้าได้ เช่น Photoshop หรือการจำลองสามมิติโดยโปรแกรมมายา (Maya) หรือ ทรีดีสตูดิโอแม๊กซ์ (3D Studio Max) รวมทั้ง อราห์วีฟ แคด แคม (Aearah Weave CAD CAM) ซึ่งเป็นโปรแกรมจำลองลายผ้าโดยเฉพาะ แต่โปรแกรมดังกล่าวอาจทำให้ผู้ผลิตต้องใช้ต้นทุนทางด้านเวลาสูงยิ่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาและอบรบโปรแกรมหลายโปรแกรมประกอบกัน รวมทั้งต้องอาศัยความชำนาญมากกว่า เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ ที่อำนวยความสะดวก ในการออกแบบลายผ้าโดยเฉพาะ อีกทั้งมีปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ (license) ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า โปรแกรมออกแบบลายผ้าสามมิติ สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมวงการอุตสาหกรรมแฟชันของประเทศไทยซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของเมืองไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกด้วย
อ้างอิง

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

 1> assembly language : ภาษาแอสเซมบลี
    เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาระดับต่ำคล้ายๆกับภาษา Basic
       และภาษา Cobol

  2> automatic teller machine : เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ
    เป็นเครื่องทีไม่มีคนประจำอยู่ ซึ่งสามารถควบคุมการถอนเงิน การดูยอดบัญชีและทำ
       งานอื่นๆ เกี่ยวกับการจ่ายเงินโดยอัตโนมัติ

  3> auxiliary storage : หน่วยเก็บช่วย หน่วยเก็บรอง
    เป็นหน่วยความจำที่ช่วยในการรองรับหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์หรือที่เรียก
       ว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage)

  4> background processing : การประมวลผลส่วนหลัง
    เป็นการ execute โดยอัตโนมัติของโปรแกรมส่วนหลังระหว่างโปรแกรมคอมฯ กับระบบ
       ปฏิบัติการ เมื่อระบบไม่สามารถทำตามคำสั่งการประมวลผลส่วนหน้าได้

  5> backup : การสำรอง
    การสำรองเอาไว้ใช้สำรองโปรแกรมหรือสำรองไว้เพื่อกันโปรแกรมเสียหาย

  6> BASIC : ภาษาเบสิก
    เป็นภาษาระดับสูงใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้และ
       การทำงานเป็นแบบแบ่งเวลา (Time Sharing)

  7> batch processing : การประมวลผลแบบกลุ่ม
    การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล
       เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ
       รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม

  8> binary number system : ระบบเลขฐานสอง
    ในระบบเลขฐานสองจะมีอยู่ 2 digits คือ เลข 0 กับเลข 1 ซึ่งคอมพิวเตอร์จะให้แปลงคำสั่งเป็น
       เลข 0 และ 1 ในการประมวลผล และใช้เลข 0,1 เป็นเงื่อนไขหรือการกระทำ

  9> booting the system : การเริ่มทำงานของระบบ
    การเริ่มต้นทำงานของคอมพิวเตอร์ จะเริ่มจากการ Boot เครื่องและจะมีระบบปฏิบัติการหรือ DOS 
       เข้ามาในหน่วยความจำหลัก

10> buffer : ที่พักข้อมูล ที่ปรับอัตรา หรือกันชน
    ใช้พักข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ input/out กับ CPU เป็นพื้นที่สำหรับหน่วยความจำขนาดเล็ก ติดต่อ
       buffer สองตัว

11> bug : จุดบกพร่อง
    การ error ในระบบหรือโปรแกรม การ error ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือในรายละเอียดบางชิ้น
       ของฮาร์ดแวร์

12> bus : บัส
    การสื่อสารระหว่าง provide หรือ มากกว่า 1 devices เช่น ระหว่าง CPU, หน่วยความจำ และ
       อุปกรณ์รอบนอก โดยคอมพิวเตอร์จะต่อเข้ากับเครื่อง server
    
13> byte : ไบต์
    เป็นกลุ่มของบิต จะมีอยู่ 8 operater ในหน่วยหนึ่ง โดยจะมีตัวแปรเป็นอักขระหรือสัญลัษณ์พิเศษ
       โดยปกติ 1 ไบต์จะมี 8 บิต

14> cache memory : หน่วยความจำแบบแคช
    เป็นหน่วยความจำที่มีการทำงานสูง ความเร็วสูง เป็นการทำงานของหน่วยความจำเพื่อประมวลผล
       ข้อมูลหรือโครงสร้าง

15> CAD/CAM : การออกแบบและผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
    โดยปกติทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและกระบวนการผลิตของธุรกิจต่างๆ

16> CAI : การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
    คือการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้เองโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ

17> constant : ค่าคงที่
    เป็นตัวเลขที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในโปรแกรม

18> control program : โปรแกรมควบคุม
    ปกติจะเป็นระบบปฏิบัติการ โปรแกรมควบคุมสามารถช่วยควบคุมการปฏิบัติการและการจัดการใน
       ระบบคอมพิวเตอร์
    
19> control unit : หน่วยควบคุม
    เรียกกันว่า CPU และสามารถพบได้ในการ execution ของโครงสร้างโปรแกรม และเป็นการประมวล
       ผลส่วนกลางซึ่งจะทำงานควบคุมโดยตรงของระบบคอมพิวเตอร์

20> coursor : ตัวชี้ตำแหน่ง
    สัญลักษณ์ที่แสดงผลบนจอภาพ คือ ขีดเส้นใต้กระพริบเพื่อแสดงหรือชี้ว่า ตัวถัดไปอยู่ตำแหน่งไหน 
       อาจจะเป็นสัญลักษณ์ขีดเส้นใต้ หรือกล่องซึ่งบอกว่าคุณกำลังอยู่ตำแหน่งไหนบนจอภาพ

21> cylinder : ทรงกระบอก
    แทร็คบนจานแม่เหล็กซึ่งเกิดจากจานแม่เหล็กแต่ละแผ่นเรียงกันเป็นทรงกระบอก และแทร็คที่เรียง
       ตรงกันเรียกว่า cylinder
    
22> data : ข้อมูล
    ข้อมูลที่เตรียมไว้เพื่อจะนำไปเข้าสู่การประมวลผล

23> data base : ฐานข้อมูล
    ที่รวมของไฟล์ที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้หลักการบางอย่างทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกันและสามารถ
       เรียกใช้งานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

24> data base administrator : การบริหารฐานข้อมูล
    เป็นงานที่ใช้สำหรับค้นหา ปรับปรุง แก้ไขการเข้าถึงฐานข้อมูล เป็นการเอาไว้ใช้ฐานข้อมูลโดยใช้
       ระบบฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่วไป การบำรุงรักษา

25> data base management system : ระบบการจัดการฐานข้อมูล
    เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการฐานข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล การค้นหาข้อมูล ระบบนี้สามารถประมวล
       ผลได้หลายโปรแกรมพร้อมกัน

26> cathaode ray tube : หลอดภาพ
    เป็นหลอดอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งข่าวสารไปแสดงผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลลัพธ์ด้าน
       ข้อมูลบนหลอดทีวีและหน้าจอ

27> central processing unit : หน่วยประมวลผลกลาง
    เป็นส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ในการควบคุมการแปลและการรันโปรแกรมและ
       คำสั่งต่างๆ ใน CPU ประกอบด้วยหน่วยความจำหลัก หน่วยคำนวณและตรรกะ และหน่วยควบคุม

28> channel : ช่องสัญญาณหรือร่องข้อมูล
    เป็นเส้นทางสำหรับการส่งสัญญาณระหว่างคำสั่งและตำแหน่งของข้อมูล แบ่งเป็นแทร็คในเทป
       แม่เหล็กหรือเรียกว่า แบนด์ในดรัมแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไปสู่ CPU 
       และจาก CPU ไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ

29> chip : ชิป
    สร้างมาจากซิลิโคนประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และประกอบเป็น integrated

30> compiler : ตัวแปลชุดคำสั่งหรือชุดคำสั่งแปลชุดคำสั่ง
    คำสั่งในคอมพิวเตอร์เป็นแบบภาษาเครื่อง ซึ่งโดยปกติผู้เขียนโปรแกรมจะเขียนด้วยภาษาระดับ
       สูงที่คอมพิวเตอร์ไม่รู้จัก ตัวแปลภาษาจะทำการแทนคำสั่งภาษาระดับสูงนั้นด้วยภาษาเครื่องไม่ว่าจะเป็น
       ชุดคำสั่งและคำสั่งย่อย นอกจากนี้ยังแปลงระดับการทำงานหรือปัญหาของภาษาเป็นภาษาเครื่องด้วย

31> computer : คอมพิวเตอร์หรือคณิตกร
           เป็นเครื่องคำนวณระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยออกแบบเพื่อจัดระบบที่เป็นอัตโนมัติในการรันและ
       การทำงานมีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ โดยละเอียดเป็นลำดับขั้นตอนแปลที
       ละคำสั่งที่ได้รับไป

32> computer network : ข่ายงาน หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    เป็นการเชื่อมต่อการประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือมากกว่า

33> computer operator : การดำเนินการคอมพิวเตอร์หรือการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
    เป็นการทำงานที่รวมถึงการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ เป็นการเริ่มดำเนินโปรแกรม ตรวจสอบ
       การทำงานของไมโครโปรเซสเซอร์และจบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ

34> console : ส่วนเฝ้าคุมหรือจอเฝ้าคุม
    เป็นช่องทางของคอมพิวเตอร์ที่ใช้มนุษย์ควบคุมการติดต่อสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์

35>data communications : การสื่อสารข้อมูล
    เป็นวิธีการถ่ายข้อมูลระหว่างการประมวลผลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยทำการโอนถ่าย
      ข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

36> data entry operator : พนักงานป้อนข้อมูล
    เป็นผู้ที่ถอดข้อมูลจากเทปเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหน้าที่
       เฉพาะบางคนที่สามารถเข้าใจข้อมูลและแทนค่านั้นด้วยภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้

37> data processing : การประมวลผลข้อมูล
    เป็นความต้องการที่จะปฏิบัติงานประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์

38> debug : แก้จุดบกพร่อง
    เป็นการตรวจสอบที่จุดบกพร่องและแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมและหรือคำสั่งย่อยใน
       ชุดคำสั่ง

39> decision support system : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    เป็นการรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจไว้เป็นสำเนาเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจ

40> deagnosties : การวินิจฉัย
    เป็นการแสดงข้อความผิดพลาดด้วยคอมพิวเตอรืที่เกิดจากปัญหาจากระบบและคำสั่งของ
       โปรแกรม

41> difference engine : เครื่องคำนวณทางตรรกะ
    เป็นอุปกรณ์ประมวลผลทางตรรกศาสตร์ที่จะไม่มีวันจบ สร้างโดย Charles Babbuge

42> digital computer : คอมพิวเตอร์เชิงตัวเลข,คณิตกรเชิงตัวเลข
    เป็นอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลและจัดการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล ใช้ควบคู่กับเรื่อง
       คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก

43> direct-access : การเข้าถึงโดยตรง
    เป็นการเข้าถึงข้อมูลในเวลาที่ต้องการโดยดึงข้อมูลมาเฉพาะที่ตั้งที่ข้อมูลอยู่ เป็นการอ่านและ
       เขียนข้อมูลโดยตรงเช่นเดียวกับการค้นหาข้อมูลโดยตรง

44> diskette : แผ่นบันทึก
    เป็นฟลอปปี้ดิสก์ เป็นเทปแม่เหล็กราคาถูก สำหรับอุปกรณ์ I/O และเป็นหน่วยความจำสำรอง

45> distributed data processing : การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย
    เป็นการบรรยายทั่วไปเกี่ยวกับการประมวลผลแบบตรรกะ เกี่ยวข้องกับข่าวสารคำสั่งตลอด
       จนการทำงานแบบรวมทั้งทางกายภาพ ประมวลผลและอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ

46> documnutation : การจัดทำเอกสาร
    เป็นเอกสารระหว่างการวิเคราะห์และคำสั่งย่อยของโปรแกรมและข้อมูลของโปรแกรมและระบบ 
       เก็บตัวแปรและมีไว้เพื่อปรับปรุงโปรแกรามในวันต่อไป

47> editor : บรรณาธิกรณ์หรือบรรณาธิการ
    เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ทบทวนและใส่ตัวอักษาและคำสั่งอื่นของโปรแกรม

48> electronic mail : การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์
    เป็นการส่งข้อความทั่วไปโดยระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการส่ง
       ข้อมูล, ข้อความ, และสารสนเทศ เป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปอีกคอมพิวเตอร์หนึ่งเหมือน
       กับการทำงานของไปรษณีย์

49> electronic apreadsheet program : โปรแกรมกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์
    เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว, คำนวณและวิเคราะห์ข้อมูล มีการทำงานแบบแถวและ
       คอลัมน์

50> EPROM : หน่วยความจำโปรแกรมลบได้
    ลบและอ่านหน่วยความจำได้เพียงอย่างเดียว โดยสามารถเขียนโปรแกรมได้ในเงื่อนไขอย่างจำกัด
       เพียงครั้งเดียว